(การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการด้วย Autodesk Forma และส่งต่อการใช้งานสู่การออกแบบด้วย Autodesk Revit 2024)

Autodesk Forma

เป็นซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักวางแผนและนักออกแบบสามารถทำงานโครงการต่างๆ ได้อย่างราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้น ซอฟต์แวร์นี้ประกอบไปด้วยเครื่องมือสำหรับการออกแบบและสร้างแบบร่างแนวคิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกต่างๆได้ล่วงหน้า รวมไปถึงการมีระบบชั้นข้อมูลต่างๆ ที่เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ ที่สามารถช่วยให้นักออกแบบ สามารถสร้างแบบร่างและการวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการในมิติต่างๆได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วนั่นเองครับ


Autodesk Forma to Revit 2024-01

โดยในบทความนี้ Small BIM Studio จะมาแนะนำแนวทางการใช้งานเบื้องต้น รวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เราสามารถเข้าไปศึกษา และใช้งานกันได้ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับนักออกแบบ สถาปนิก ผังเมืองมากๆเลย

ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูรายละเอียดกันทีละส่วนกันเลยครับ


Autodesk Forma to Revit 2024-02

Webapp : app.autodeskforma.com

นักออกแบบทุกท่าน สามารถเข้าใช้งานผ่าน webapp ได้ครับ โดย Autodesk Forma เป็นระบบคลาวด์ สามารถทำงานออนไลน์ได้ตลอดเวลา มีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลของ Autodesk และแหล่ง Opensource ต่างๆได้อีกด้วย

โดยในการเริ่มต้นครั้งแรก เราต้องทำการสร้างโครงการใหม่ (Create New Project) โดยสามารถกำหนดพื้นที่ตั้งโครงการได้ โดยการค้นหา เลขที่ตั้ง (address), ชื่อเมือง (city), ชื่อพื้นที่ (area name) หรือค่าพิกัด (Coordinates) ได้ ซึ่งก็เหมือนกับการค้นหาร้านอาหารใน Google Map นั่นเอง


Autodesk Forma to Revit 2024-03

เมื่อค้นหาที่ตั้งโครงการได้แล้ว ก็ทำการยืนยันสถานที่ตั้ง (Confirm map area) และรอซักครู่ สำหรับการเริ่มต้นโครงการครับ


Autodesk Forma to Revit 2024-04

This is your map location

เมื่อโครงการโหลดเสร็จแล้ว เราก็จะได้พื้นที่ตั้งของเรามาชุดนึงครับ เป็นแผ่นพื้นโครงการแบบเรียบๆ โดยต่อจากนี้ เราสามารถสร้างแมสเพื่อวิเคราะห์โครงการ วิเคราะห์แบบร่าง วิเคราะห์ทิศทางแสงแดด วิเคราะห์ทิศทางลม วิเคราะห์เสียง วิเคราะห์ได้แทบจะทุกอย่าง เรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ครบครัน สำหรับการออกแบบร่างขั้นต้นจริงๆครับ

Data Library

โดยจุดเด่นของ Forma คือชุดข้อมูล ที่สามารถดึงมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชุดข้อมูลต่างๆ ขึ้นอยู่กับทวีป และประเทศด้วย โดยประเทศไทย จะมีข้อมูลแค่ในส่วนของ ชั้นความสูง, ข้อมูลถนน, และข้อมูลความสูงของอาคารบางส่วนนั่นเอง)

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม ว่าแต่ละพื้นที่ มีชุดข้อมูลอะไรให้ใช้งานบ้าง สามารถเข้าไปดูได้ในลิงค์นี้ครับ https://app.autodeskforma.eu/data-provider-map/thailand


Autodesk Forma to Revit 2024-05

โดยชุดข้อมูลต่างๆ เราต้องทำการ Order เพื่อดึงข้อมูลมาใช้ในโครงการของเรา (บางชุดข้อมูล สามารถ Order ได้ Free แต่ก็จะมีข้อมูลบางส่วน ที่ต้องชำระเงิน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานนั่นเอง)

  1. ASTER GDEM (เป็นข้อมูลความสูงของสภาพภูมิประเทศ สามารถจำลองความสูงได้ประมาณไม่เกิน 30 เมตร)
  2. Flat Terrain (เป็นข้อมูลที่อีกหนึ่งตัวเลือก ที่สามารถปรับที่ตั้งโครงการของเราให้ไม่มีเส้นชั้นความสูงได้)
  3. Open Street Map (เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเส้นถนนหนทาง โดยจำลองถนนหลักๆ บริเวณโครงการของเราได้)
  4. Building (เป็นข้อมูลจาก Open Street Map ที่สามารถแสดงความสูงของอาคารโดยรอบโครงการได้)

Autodesk Forma to Revit 2024-06

เมื่อจำลองสถานที่โครงการได้แล้ว เราก็สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ในการวิเคราะห์ทิศทางแสงแดด (Sun Analyse), ทิศทางลม (Wind Analyse), ทิศทางแสงกลางวัน (Daylight Potential Analyse), และวิเคราะห์ข้อมูลส่วนอื่นๆ ได้อีกหลายหัวข้อ เพื่อให้เราเข้าใจเกี่ยวกับที่ตั้งโครงการได้อย่างละเอียดสุดๆ


Autodesk Forma to Revit 2024-07

Autodesk Forma to Revit 2024-08

Autodesk Forma to Revit 2024

เมื่อทำการวิเคราะห์โครงการเสร็จเรียบร้อย แล้วต้องการนำไปใช้ในการออกแบบ พัฒนาแบบร่างในลำดับต่อไป ทุกท่านสามารถส่งต่อ Proposal ที่เราทำการวิเคราะห์ ส่งไปยัง Autodesk Revit ได้ทันที ด้วย Revit Add-in นั่นเองครับ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ จึงมีประโยชน์มากๆ สำหรับการออกแบบร่าง ถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งในกระบวนการออกแบบที่สามารถทำตามได้ง่าย สะดวก และแม่นยำ


Autodesk Forma to Revit 2024-09

ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆท่านครับ
แล้วพบกันใหม่ ในบทความหน้า สวัสดีครับ


อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://smallbimstudio.com/home/บทความ/